แหล่งท่องเที่ยว
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านตลาดเคียนซา
3311
13 ธันวาคม 2561

ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านตลาดเคียนซา
         บ้านตลาดเคียนซา หมู่ที่ 1 ตำบลตลาดเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหมู่บ้านเดียวของอำเภอเคียนซา ที่ได้รับจัดสรรให้ดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน ซึ่งใช้ทุนชุมชน ที่เป็นอัตลักษณ์ เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนและเกิดการใช้จ่ายเงินในชุมชน และเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ไปจำหน่ายนอกชุมชนและทำให้เกิดรายได้เฉพาะราย เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
       โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นมิติใหม่ในการพัฒนาสินค้า OTOP ของชุมชนโดยผนวกเข้ากับการท่องเที่ยวชุมชนโดยเป้าหมายสำคัญต้องการให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการสินค้าชุมชนไม่ต้องออกไปขายสินค้านอกบ้านแต่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวไปซื้อ และบริการของชุมชน โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย”
สำหรับแนวทางการดำเนินงานดำเนินการภายใต้ 5 กระบวนงานหลัก คือ
1) กระบวนงานพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 
2) กระบวนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก
3) กระบวนงานพัฒนาสินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยว
4) กระบวนงานเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่น 
5) กระบวนงานส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยวโดยมีประเด็นการพัฒนา ดังนี้
         1. การค้นหาเสน่ห์วิถีวัฒนธรรมชุมชนดึงเสน่ห์ของชุมชนออกมาช่วย  ชี้เป้าให้ชุมชนรู้ว่าเสน่ห์ของชุมชนคืออะไรใช้เสน่ห์อัตลักษณ์ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยว
         2. สร้างเสริมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เช่น การบริหารจัดการนักเล่า   เรื่องราวชุมชนหรือไกด์ชุมชนดูแลความปลอดภัยโดยคำนึงถึงผลลัพธ์/ผลกระทบระยะยาว ต่อประชาชนและหมู่บ้าน/ชุมชนโดยบริหารโครงการอย่างโปร่งใสและเกิดประโยชน์แท้จริง
         3. สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ทั้งปี
         4. การปรับภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยทำให้เป็นธรรมชาติ  เช่น การปลูกต้นไม้ทำให้ชุมชนสะอาดทำป้ายบอกทาง เป็นต้น 
         5. พัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP    โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการสร้างเรื่องราว ของผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจและความต้องการซื้อ ของผู้บริโภคและการสร้างความสวยงาม เช่น ออกแบบให้มีความแตกต่าง พัฒนาสินค้าของฝากของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน