Background



สภาพทั่วไป/ข้อมูลพื้นฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติ
18 มีนาคม 2563

0


ทรัพยากรธรรมชาติ

 น้ำ                    

                   หนองน้ำ          1        แห่ง               บ่อน้ำตื้น         -         แห่ง

                   ลำคลอง          -         แห่ง               บ่อบาดาล        -         แห่ง

                   บึง                -         แห่ง               อ่างเก็บน้ำ        -         แห่ง

                   แม่น้ำ             1        แห่ง               ฝาย               -         แห่ง

 

 ป่าไม้

                   ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้

                  

ภูเขา

                   ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา

 

ประชากร
13 มีนาคม 2563

0


ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

รายการ

พ.ศ.2562

พ.ศ.2561

พ.ศ. 2560

พ.ศ.2559

พ.ศ.2558

หน่วยนับ

ประชากรชาย

882

902

912

909

912

(คน)

ประชากรหญิง

839

853

870

873

971

(คน)

รวมประชากร

1,721

1,755

1,782

1,782

1,788

(คน)

บ้าน

740

736

730

725

723

(หลังคาเรือน)


 

หมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือน

ปี  ๒๕๖๒

ปี  ๒๕๖๑

ปี  ๒๕๖๐

ปี  ๒๕๕๙

ปี  ๒๕๕๘

ชุมชนในบ้าน

ชุมชนบ้านกลาง

ชุมชนตลาด

ชุมชนตลาดล่าง

175

263

146

156

170

262

146

155

168

260

145

155

144

258

167

153

167

257

144

153

รวม

740

736

728

725

723

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมู่บ้าน

เพศ

ชาย

หญิง

รวม

ชุมชนในบ้าน

ชุมชนบ้านกลาง

ชุมชนตลาด

ชุมชนตลาดล่าง

241

285

191

165

218

260

200

161

459

545

391

326

รวม

882

839

1,721


ข้อมูล : ที่มาสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลเคียนซา (ณ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)

 

สภาพทางสังคม

การศึกษา

          สังกัด

สพฐ.

เทศบาล

ตำบลเคียนซา

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเคียนซา

           - จำนวนครู คศ.1

           - จำนวนผู้ดูแลเด็ก (ผู้มีทักษะ)

           - จำนวนนักเรียน

2. โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่เทศบาล

    2.1  โรงเรียนวัดเพ็งประดิษฐาราม

           ระดับประถมศึกษา

          -  จำนวนครู 

          -  จำนวนนักเรียน

 

 

 

 

 

 

1 แห่ง

 

 

30

670

 

 

1 แห่ง

10  คน

1  คน

236  คน

 

 

 

 

 

 

ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
24 เมษายน 2560

0


ที่

ชื่อของภูมิปัญญา/ประเภท

ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

หมายเหตุ

1

การรำมโนราห์

(ด้านดนตรี  นาฏศิลป์)

 

นางเกศนีย์ อุ่นคงทอง

155/2 หมู่ 1 ต.เคียนซา

 

2

ขนมไทย (ข้าวเหนียวมะม่วง)

(ด้านอาหาร)

นางจารุวรรณ วัฒนาผาสุขกุล

186 หมู่ 1 ต.เคียนซา

 

3

ขนมไทย (ข้าวต้มมัด)

(ด้านอาหาร)

นางดรุณี อิสสระทะ

24 หมู่ 1 ต.เคียนซา

 

4

ปลาแดดเดียว

(ด้านอาหาร)

นางอัจฉรี ฉอำ

101 หมู่ 1 ต.เคียนซา

 

5

ชาจันทน์กะพ้อ

(ด้านสมุนไพร)

นายชำนาญ พิมลอย

54/2 ม.1 ต.เคียนซา

 

6

พิธีกรทางศาสนา

(ด้านศาสนา วัฒนธรรม)

นายจรัล กมลจิตรุ่งเรือง

5 หมู่ 1 ต.เคียนซา

 

สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลเคียนซา
30 พฤศจิกายน 544

0


ที่ตั้งและขนาด 
          เทศบาลตำบลเคียนซา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1  ต.เคียนซา  อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี  มีพื้นที่ 2.04 ตารางกิโลเมตร 
หรือประมาณ 1,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ต.เคียนซา  โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 42 กิโลเมตร  เทศบาลตำบลเคียนซา  ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลง  เมื่อวันที่   25  พฤษภาคม  2542 

           สำนักงานเทศบาลตำบลเคียนซา

           ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

           - โทรศัพท์ 077-387361

           - โทรสาร 077-387186

                  แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครองเทศบาลตำบลเคียนซา

                 

อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ         ติดต่อกับแม่น้ำตาปี
     ทิศใต้             ติดต่อกับหมู่ 5,หมู่ 3  ต.เคียนซา
     ทิศตะวันออก   ติดต่อกับแม่น้ำตาปี
     ทิศตะวันตก     ติดต่อกับหมู่ 2, หมู่ 7 ต.เคียนซา

เขตการปกครอง
    เทศบาลตำบลเคียนซา  แบ่งเขตการปกครองเป็นชุมชน  จำนวน  4  ชุมชน  ได้แก่
              1. ชุมชนในบ้าน
              2. ชุมชนบ้านกลาง
              3. ชุมชนตลาด
              4. ชุมชนตลาดล่าง
ลักษณะภูมิประเทศ
     สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป  ของเทศบาลตำบลเคียนซา  มีลักษณะภูมิประเทศร้อนชื้นโดยได้รับอิทธิพลจาก

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  และตะวันออกเฉียงใต้  ทำให้ฝนตกตลอดทั้งปีเหมาะแก่การเพาะปลูก

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน   เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม

ลักษณะของดิน

                    ในเขตเทศบาลประชาชนร้อยละ  95  ทำการเกษตร  ลักษณะของดินจึงเป็นดินร่วน  เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชสวน  เช่น   ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  ผลไม้

ลักษณะของแหล่งน้ำ

                   แหล่งน้ำที่สำคัญคือ  แม่น้ำตาปี  ซึ่งไหลผ่านเขตเทศบาลฯ  ทำให้มีน้ำในการอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี

ลักษณะของไม้และป่าไม้

                   เทศบาลตำบลเคียนซา  ได้จัดงานประเพณี “เทศกาลจันทน์กะพ้อบาน  ที่สุราษฎร์ธานีเมืองคนดี”  เป็นประจำทุกปี  เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้จันทน์กะพ้อ  ซึ่งเป็นไม้สำคัญประจำท้องถิ่น  และยังมีสวนน้ำจันทน์กะพ้อ  ซึ่งเป็นสวนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้จันทน์กะพ้อ 

 

การคมนาคมขนส่ง
30 พฤศจิกายน 542

0


          การคมนาคมและการขนส่งระหว่างเทศบาลตำบลเคียนซากับพื้นที่ใกล้เคียง  มีความสะดวกพอสมควร 
การคมนาคมทางบกเป็นเส้นทางที่สำคัญในอำเภอที่ใช้ติดต่อระหว่างตำบลในอำเภอ  และอำเภอใกล้เคียง 
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญภายในอำเภอ  ดังนี้
           3.1  เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4133  (สายพุนพิน-ทุ่งสง)  
           3.2  เส้นทางเร่งรัดพัฒนาชนบทสายเคียนซา – บ้านนาเดิม ระยะทาง 14 กิโลเมตร  
           3.3  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 (กระบี่-ขนอม)  เป็นเส้นทางคมนาคมใหม่ที่ผ่านอำเภอเคียนซา  
                 และห่างจากเขตเทศบาลประมาณ  2  กิโลเมตร ถนนสายนี้ตัดผ่านถนนสาย 41 (A2), 
                 41(A41),41(A42)  กับจังหวัดอื่นๆ
           3.4  การคมนาคมทางน้ำ  อำเภอเคียนซามีแม่น้ำตาปี  ซึ่งราษฎรยังใช้ในการเป็นเส้นทางคมนาคม
                 ติดต่อระหว่างกันในระยะใกล้

การไฟฟ้า/การประปา
30 พฤศจิกายน 542

0


การไฟฟ้า

        เขตเทศบาลตำบลเคียนซา ได้รับกระแสไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเคียนซา   ราษฎรมีไฟฟ้าทุกครัวเรือน  และมีไฟฟ้าสาธารณะติดตั้งตามถนนสายต่างๆ  ในเขตเทศบาลทุกสาย

การประปา

        เทศบาลตำบลเคียนซา  มีระบบประปาเทศบาลบริการแก่ประชาชนครอบคลุมทุกครัวเรือน ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถใช้ได้ตลอดปี

การสื่อสารและการโทรคมนาคม
30 พฤศจิกายน 542

0


       มีสถานที่บริการอินเตอร์เน็ต 1 แห่ง (ศุนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน)  มีจำนวนเสียงตามสาย 1 แห่งซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขอเทศบาลมีระบบกระจายเสียงระบบไร้สาย มีภาครับจำนวน 8 จุด  จำนวนเสียงตามสายครอบคลุมพื้นที่ ที่มีการพักอาศัยคิดเป็น   ร้อยละ  80  ของพื้นที่   สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
ด้านเศรษฐกิจ
30 พฤศจิกายน 542

0


        ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก  และมีการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง ร้านเสริมสวย  ค้าขาย  รวมถึงมีตลาดสดเทศบาล 1 แห่ง  กลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม  ประกอบด้วย

  กลุ่มอาชีพ

สมาชิก 
(คน)

ทุนการดำเนินการ
(บาท)

1.กลุ่มไวท์ผลไม้ 

75

100,000

2.กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ  

71

300,309

3.กลุ่มน้ำยาล้างจาน

15

60,000

4.กองทุนในเขตเทศบาล (กองทุนแหลมไผ่)

270

1,000,000

 

การท่องเที่ยว
30 พฤศจิกายน 542

0


           เขตเทศบาลอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นป่าชุมน้ำนานาชาติ  มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนกต่างๆ  รวมทั้งมีพันธ์พืชหลากหลาย แต่ที่สำคัญมากคือ  ต้นจันทน์กะพ้อ  โดยขณะนี้เทศบาลได้อนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และใช้ชื่อว่าสวนน้ำจันทน์จะพ้อ ซึ่งจะจัดงาน   วันจันทน์กะพ้อบานที่สุราษฎร์ธานีเป็นประจำทุกปีระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน นอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการล่องแพตามลำน้ำตาปีอีกด้วย  เพื่อชมธรรมชาติ  2   ฝั่ง  ลำน้ำและการสร้างแพเพื่อไว้บริการนักท่องเที่ยว
ด้านสังคม
30 พฤศจิกายน 542

0


          มีโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 1 แห่ง  มีนักเรียนทั้งหมด 426 คน ครู 18 คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเคียนซา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดเพ็งประดิษฐาราม)จำนวน 1 แห่งมีนักเรียนทั้งหมด  230  คน  ครู  12   คนมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเคียนซาจำนวน 1 แห่ง  มีวัดจำนวน 1 แห่ง  คือวัดเพ็งประดิษฐารามชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชนได้รับการบริกาด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง   ยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกระดับเน้นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยความพร้อมทางร่างกายสังคม  จิตใจ  รณรงค์ในการสร้างค่านิยมประเพณีวัฒนธรรมของสังคม     โดยชุมชนเสริมสร้างความเสมอภาคโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามระบบประชาธิปไตยและได้รับความเป็นธรรม    ได้รับการบริการจากรัฐเท่าเทียมกัน 

ขนบธรรมเนียมประเพณี วันสำคัญทางศาสนา
30 พฤศจิกายน 542

0


- ประเพณีวันสารทเดือนสิบ (วันส่งตายาย)                            จัดขึ้นทุกวัน แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
- วันลอยกระทง                                                            จัดขึ้นทุกวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
- วันปีใหม่                                                                   จัดขึ้นทุกวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
- วันเด็กแห่งชาติ                                                           จัดขึ้นทุกวัน เสาร์ที่ 2 ของเดือน มกราคม
- งานจันทร์กะพ้อบาน                                                     จัดขึ้นระหว่าง เดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี
- วันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ                                            จัดขึ้นทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี
- วันเทศบาล                                                                จัดขึ้นทุกวันที่ 24 เมษายน ของทุกปี
- วันเข้าพรรษา                                                              จัดขึ้นทุกแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
การศาสนา
          ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัดอยู่ในเขตเทศบาล  1แห่ง คือ วัดเพ็งประดิษฐาราม  และมีสถานที่สำหรับการประกอบศาสนกิจของผู้นับถือ
การสาธารณสุข
30 พฤศจิกายน 542

0


       เทศบาลยังไม่มีศูนย์บริการสาธารณสุข  ซึ่งโดยส่วนใหญ่ประชาชนในเขตเทศบาลจะไปใช้บริการจากโรงพยาบาลเคียนซา   ซึ่งอยู่ห่างประมาณ   3  กิโลเมตร  มีสมาชิก อสม.จำนวน 27 คน  เพื่อช่วยดูแลประชาชนในเขตชุมชนต่างๆอย่างทั่งถึง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
30 พฤศจิกายน 542

0


- สถานีตำรวจภูธรอำเภอเคียนซา  จำนวน 1 แห่ง
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พนักงานดับเพลิง จำนวน 7 คน
- รถดับเพลิง จำนวน 1 คน
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คน
- สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 50 คน
- กล้องวรจรปิด 1 ชุด จำนวน 14 ตัว
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
30 พฤศจิกายน 542

0


      พัฒนากลไกในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรฯ  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นปรับปรุงกฎหมายรองรับให้ชัดเจนรณรงค์ส่งเสริมข้อมูลข่าวสารสิ่งแวดล้อมให้การประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบ
ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ
30 พฤศจิกายน 542

0


          ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองการปกครอง   ฯลฯ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของตนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยพัฒนา  ระบบคุณภาพการให้บริการรวดเร็วทั่วถึงและยุติธรรมสร้างเครือข่ายชุมชน   และประชาคมให้คลุมทุกชุมชนพัฒนากระบวนการรับรู้ข่าวสารให้ทันต่อเหตุการณ์ทุกคน   ในชุมชนให้สิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน บุคลากรในหน่วยงานได้รับการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง